ทำไมการวางแผนจัดฟันมันถึงสำคัญยิ่งกว่าการรีบติดเหล็กจัดฟันเสียอีก
การวางแผนจัดฟันมันถึงสำคัญยิ่งกว่าการรีบติดเหล็กจัดฟันเสียอีก
.
ในการวางแผนเคลื่อนฟัน
ปกติแล้วในเคสที่มีการถอนฟันกรามไปแล้ว
และต้องการดึงปิดช่องทั้งหมด
.
โจทย์ : คนไข้ถอนซี่36 (ฟันกรามล่าง) มาแล้ว วางแผนไงดี?
.
(เคสนี้ คนไข้อายุ 27 ปี
จัดฟัน 24 เดือนก็เสร็จละครับ)
.
.
ตัวอย่างเคสนี้
เป็นเคสซี่36 early loss
คือพึ่งถอนไปไม่นาน
ฟันคู่สบยังไม่over eruption
( เป็นเคสที่ย้ายตามเพื่อนมาจากคลินิกอื่น
โดนถอน 15, 25, 36, 44 มาแล้วตั้งแต่คลินิกเดิม
แต่ยังไม่ทันได้ติดเครื่องมือ)
.
ตอนแรกก็เซ็งนิดหน่อย
เพราะผมอยากถอน14, 24 (first premolars)มากกว่า
คนไข้แจ้งว่าหมอเดิมเค้าถอนไปเพราะมันผุใหญ่มาก
ผมก็เลยโอเค
ลุยกันต่อไปตามสภาพละกัน
.
Begin with the end in mind
.
------------------------------------
สำหรับเคสนี้ (ดูรูปประกอบ)
ตั้งใจเขียนแชร์ไอเดีย
.
เคสถอน 15, 25, 36, 44
Skeletal class i
.
ตั้งเส้นชัยตอนจบไว้ตามนี้
- Canine class i (both side)
- Molar class i ( Right)
- Molar class ii full step ( Left) (26, 37)
.
ปกติผมจะให้เขียนทิศทางของการเคลื่อนฟัน
แต่ละซี่ที่เราวางแผนไว้ลงบนโมเดลฟัน
(ที่หมอพิมพ์ปากไว้นั่นแหละ)
.
หรือวาดลงบนภาพถ่าย
(ผมชอบทำแบบนี้-ดูรูปlower arch )
เพื่อเป็นguidelineให้เราดู
ในแต่ละVisitที่คนไข้มาปรับเครื่องมือ
.
ในเคสนี้ที่วางแผนไว้คือ
- 37,38 go mesial (ระยะ2/3 molar width)
- 34,35 go distal ( 1/3 molar width)
- 43 go distal ( 1/2 premolar width)
- 45,46,47 go mesial (1/2 premolar width )
- ให้ mesial ซี่34 ตรงกับmesial45
- ให้ mesial ซี่35 ตรงกับmesial46
- โดยพยายาม keep upper and lower midline ให้ตรงกับ facial midline ไว้ตลอด
- จบ normal overjet& overbite
.
เป็นไงล่ะ อ่านละงงละสิ
.
ถ้าไม่เขียนไว้ก่อน
พอคนไข้มาปรับเครื่องมือแต่ละครั้ง
มัวแต่คิดมันจะไม่ทันครับ
มันซับซ้อน ปวดหัวมาก
เพราะมันไม่ใช่แค่รวบเชนดึงฟันให้ชิดกัน
ถ้ามันง่ายยังงั้น แจกเชนให้คนไข้ไปดึงเองก็ได้มั้ง55
.
อย่าลืมคำว่า Anchorage Loss นะ
เราต้องบริหารตรงนี้ดีๆ ว่าจะให้ตรงไหนloss
ให้ซี่ไหนเคลื่อนมาข้างหน้า
ซี่ไหนจะไปข้างหลัง
ไอ้ที่วางแผนไว้ เวลาดึงฟันจริงๆ
มันใช่ว่าฟันจะเคลื่อนตามที่เราคำนวนเป๊ะๆนะ
หมอต้องแก้ตามหน้างานเอาในทุกๆvisit
( เพราะงั้นในเคสยากๆ ถ้าคนไข้ไม่มาปรับเครื่องมือตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
หมอจะเครียดมาก เพราะมันจะพังกันได้ง่ายๆเลย.- เห็นใจหมอเต๊อะ)
.
Anchorage,
action-reaction force,
occlusal interference
ขอไม่ลงรายละเอียดละครับ
แต่เป็นสิ่งที่ต้องสังเกตและคิดตามในทุกๆvisit
ไม่งั้น10ปีก็จัดฟันไม่เสร็จ
.
.
ปล. เคสนี้ดึงฟันคุดซี่38มาด้วย
แต่หลายๆเคสที่ซี่6 early.loss ผมก็ไม่ได้ดึงซี่8มาจนชิดนะ
ถ้ามันอาจจะทำให้midlineพัง
(เดี๋ยวโพสต์หน้าจะแชร์ให้ดู)
.
ปล.2 นี่ไม่ใช่สูตรสำเร็จของการปิดช่องฟันกรามที่ถูกถอนไปแล้วนะ เคสอื่นก็ดึงไปทิศทางต่างๆกัน
Case by case
มันต้องดูskeletal ดูcanine relationship
ดูฟันคู่สบ
ดูอีกเป็นสิบๆอย่าง
แต่ละแบบจะมีแผนการดึงฟันไม่เหมือนกันเน้อ
อันนี้แค่แชร์เคสให้ดูเป็นไอเดียครับ
.
/หมอแจ็ค ประธานบริษัทมาเอง
.
คิมิโนโตะ ริโกะนินัทเตะ ชิมาเอะบะ คิตโตะ
-----------------------------//////
#จัดฟัน #จัดฟันเชียงใหม่ #invisalign